เปิดวิธีการฝากเงินสดผ่านตู้ CDM ของธนาคารในไทย อาทิ กสิกร กรุงเทพ ไทยพาณิชย์ และต้องใช้อะไรบ้างในการยืนยันตัวตนทุกครั้งที่ทำธุรกรรมฝากเงินสดผ่านตู้อัตโนมัติ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น
สารบัญ
ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศขั้นตอนการฝากเงินสดผ่านตู้อัตโนมัติ (CDM) แบบใหม่ในการทำธุรกรรมจำเป็นต้องแสดงตนของผู้ฝากเงินทุกครั้ง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป นอกจากเพื่อยกระดับความปลอดภัยแล้วยังช่วยป้องกันการฟอกเงินจากแหล่งที่มาแบบผิดกฏหมายจนทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างมหาศาล
CDM คืออะไร
CDM ย่อมาจากคำว่า Cash Deposit Machine คือ ตู้ฝากเงินอัตโนมัติที่ให้บริการฝากเงินสดเข้าบัญชีภายในหรือต่างธนาคาร โดยผู้ฝากสามารถทำธุรกรรมด้วยตัวเองผ่านตู้ CDM ของทุกธนาคารในประเทศไทย เพียงเตรียมเงินสดที่ต้องการฝากกับหลักฐานการยืนยันตัวตนมาให้ครบถ้วน

ฝากเงินสดผ่านตู้ CDM ต้องใช้อะไรบ้าง
- เงินสดที่ต้องการฝากและเลขที่บัญชีธนาคาร
- เลขบัตรประชาชน 13 หลัก, เบอร์มือถือใช้รับรหัส OTP วงเงินฝาก 30,000 บาท/ครั้ง
- บัตร ATM บัตรเดบิต บัตรเครดิต และ รหัสส่วนตัว (PIN) วงเงินฝาก 100,000 บาท/ครั้ง
ซึ่งประชาชนทั่วไปที่ฝากเงินสดไม่เกิน 30,000 บาท (รวมค่าธรรมเนียม) ผ่านตู้ CDM จะใช้เพียงเลขบัตรประชาชน และ เบอร์มือถือรับรหัส OTP ในการยืนยันตัวตนได้ตลอด 24 ชั่วโมง
แนะนำ: วิธีฝากเงินที่ 7-Eleven ไม่ต้องไปธนาคาร

ทั้งนี้ทุกขั้นตอนการการฝากเงินสดผ่านตู้อัตโนมัติ CDM ยังคงเหมือนเดิม เพิ่มเติมแค่ผู้ฝากต้องเตรียมเลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ หรือ บัตรเอทีเอ็ม เพื่อให้ระบบตรวจสอบสถานะและยืนยันตัวตนอย่างถูกต้อง ซึ่งมาตราการดังกล่าวยังครอบคลุมถึงตู้ฝาก-ถอนเงินสดอัตโนมัติ RCM และตู้อัปเดตสมุดเงินฝาก eCRM 3in1 หากมีข้อสงสัยสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่เว็บไซต์หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน Call Center ของธนาคารที่ใช้บริการ
แหล่งอ้างอิง – ธนาคารแห่งประเทศไทย